คุณภาพและความชัดของภาพพิมพ์แคนวาส

“สีสดไหม จะออกมาชัดหรือเปล่า” เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับลูกค้าที่ต้องการพิมพ์งานและความมั่นใจต่อผลงานที่จะออกมา ถ้าอธิบายแบบง่ายๆภาพพิมพ์ที่ดี สีสดและชัดต้องมีองค์ประกอบต่างๆต่อไปนี้
1.ต้นฉบับ
                ใช่เลยต้นฉบับที่ดีจะให้ไฟล์งานที่พิมพ์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์ อย่างเช่น คุณภาพของกล้องกับตัวเลนส์โฟกัสในกรณีของการถ่ายภาพ ความละเอียดของภาพ แสง ความหนาแน่นของเม็ดสีของภาพ การบีบอัดไฟล์
2.วัสดุ
                วัสดุที่ถูกนำมาพิมพ์จะให้อารมณ์และความชัดที่แตกต่างกันทั้งๆที่ใช้ไฟล์ภาพเดียวกัน  ขอยกตัวอย่าง
  • การพิมพ์ภาพบนผ้าใบไวนิล ตัวภาพจะให้ความชัดและความกว่า
  • การพิมพ์ภาพบนผืนผ้าแคนวาส ตัวภาพจะให้ความคมน้อยกว่า เพราะเนื้อภาพมีความพรุนมากว่า
3.เครื่องพิมพ์
                ความคมชัดของภาพจะขึ้นกับเครื่องพิมพ์ที่ดี ที่ให้ความละเอียดมากกว่า 720dpi ขึ้นไป โดยไฟล์ต้นฉบับที่ ทางBKKCANVAS นำมาพิมพ์สามารถเร่งความละเอียดได้ถึง 1440dpi ซึ่งหมายความว่าพื้นที่ของความละเอียดในหนึ่งนิ้วจะประกอบไปด้วยเม็ดสี 1440 เม็ดสีนั่นเอง ดังนั้นหากทางลูกค้าต้องการพิมพ์ภาพไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโทรศัพท์หรือไฟล์อื่นๆ เพียงแค่ต้องคำนึงถึงและเข้าใจของไฟล์เริ่มต้นก่อนนำมาพิมพ์เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง

งานกรอบลอยผ้าแคนวาสขึงโครงไม้คืออะไร ?

“แคนวาส” หรือที่บ้านเราเรียกผ้าใบ ก็คือผ้าที่ถูกทอให้มีความหนามาก ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในการสร้างงานจิตรกรรม วาดภาพสีน้ำมัน สีอะครายลิค ผ้าแควาสจะลงด้วยรองพื้นสีขาว หรือขาวครีม ด้วยเกสโซ (GESSO) เพื่อป้องกันการดูดซึมของสีเมื่อสร้างงาน และลบร่องรอยพื้นผิวขรุขระของลายเนื้อผ้า ลักษณะของผ้าแคนวาสหรือผ้าใบมีลักษณะจะคล้ายผ้ากระสอบหรือผ้าดิบ แต่จะมีความถี่ในการทอที่หนามากกว่า เนื้อผ้าละเอียดกว่า ดูสวยงามและมีความแข็งแรงคงทนมากกว่าเราจึงได้เห็นสินค้าที่เป็นผ้าแคนวาสอย่างแพร่หลายมากขึ้น
การสร้างผลงานบนแคนวาส อาจเข้าใจผิดกันว่าจะต้องถูกจำกัดแค่การเขียนภาพและลงสีด้วยมือในกรอบไม้รูปสี่เหลียมเท่านั้น แต่จริงๆแล้วผ้าแคนวาสถูกทำมาสร้างสรรค์ในหลากหลายรูปไม่ว่าจะป็นงานอุตหกรรมสิ่งทอ อาทิ กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ เป็นต้น เราสามารถสร้างงานศิลปะได้สะดวกและหลากหลายขึ้น รวมถึงถูกนำมาใช้ในการพิมพ์อิงค์เจ็ตอีกด้วย เมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์สูงขึ้น เราจึงสามารถพิมพ์ลงบนผ้าแคนวาสได้ โดยที่เราสามารถนำภาพถ่าย, งานกราฟฟิคของเรา หรือแม้แต่ภาพวาดสวยๆ ที่ต้องการให้มีความคล้ายคลึงกับภาพวาดสีน้ำมัน ก็สามารถพิมพ์ลงบนผ้าแคนวาสด้วยความละเอียดสูง เป็นงานศิลปะที่สามารถนำไปตกแต่งห้องต่างๆภายในบ้านได้อย่างสวยงามอีกด้วย
เมื่อพิมพ์ภาพลงไปบนผ้าแคนวาสเรียบร้อยแล้วจึงมาขึงบนโครงไม้ และความแข็งแรงของเฟรมไม้เป็นสิ่งสำคัญในชิ้นงานภาพพิมพ์แคนวาส เพราะตัวเฟรมไม้ต้องรับแรงดึงจากผ้าใบตลอดเวลา เราเลือกใช้ไม้เกรดดีในการขึ้นโครง ทำให้ทุกชิ้นงานมีคุณภาพดีเท่ากันในทุกชิ้น จากนั้นทำการเก็บงานปืนยิงลวด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงผ้าใบไม่จะไม่หลุดหรือหย่อนออก และเจาะหมุดสำหรับแขวน พร้อมสำหรับการติดตั้งเพื่อตกแต่งบ้านหรือมอบเป็นของขวัญในเทศกาลสำคัญต่างๆ

ความต่างระหว่าง (RGB)และ(CMYK)

เมื่อคุณทำงานเกี่ยวกับการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ มักจะเจอคำว่า RGB และ CMYKแต่ความหมายของมันคืออะไร?

ทั้ง RGB และ CMYK ก็คือระบบการแทนค่าสีที่ใช้ในงานกราฟิก และถูกแบ่งเป็น 2 โหมดRGB และ CMYK ซึ่งเหมาะกับงานคนละประเภทกัน

RGB มีแนวคิดมาจากการผสมแสงสีหลัก 3 สีเข้าด้วยกัน คือ แดง (RED) เขียว (GREEN) และ น้ำเงิน (BLUE) ซึ่งเมื่อผสมกันจะทำให้เกิดสีจำนวนมากและเมื่อนำมารวมกันที่ความเข้มสูงสุดจะได้สีขาว ส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่นจอภาพ กล้อง ดิจิตอล เป็นต้น

CMYK มีแนวคิดมาจากระบบการพิมพ์ โดยภาพจะถูกแยกออกเป็นแม่พิมพ์ของ 4 สีหลัก

ฟ้า   (CYAN)    ม่วงแดง (MAGENTA)   เหลือง (YELLOW)  ดำ (BLACK) เมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะได้สีดำ

ระบบสี RGB ย่อมาจาก Red – Green – Blue ซึ่งเป็นแม่สีต้นกำเนิดที่เป็นแสง เช่น จอทีวี, จอคอมพิวเตอร์, จอโทรศัพท์มือถือโดยระบบสี RGB นี้จะสามารถสร้าง “ขอบเขตสี” ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นั่นคือ ระบบสี RGB จะสามารถสร้างเฉดสีต่างๆ จากแสงแม่สีทั้ง 3 สี ได้มากมายนับไม่ถ้วน

* แม่สี RGB เป็นสีโปร่งแสง เมื่อนำทั้ง 3 สี มาผสมกัน จะได้แสงสีขาว

ระบบสี CMYK ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นสีทึบแสง เช่น สีโปสเตอร์, สีน้ำ, และสีจากหมึกพิมพ์ นั่นเอง โดยระบบการพิมพ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่อง Printer ขนาดเล็กที่บ้านทั้ง Laser หรือ Inkjetไปจนถึงแท่นพิมพ์ขนาดใหญ่ อย่างแท่นพิมพ์ Offset ส่วนใหญ่ก็จะพิมพ์ด้วยระบบ CMYK แทบทั้งสิ้น

* แม่สี CMYK เป็นสีทึบแสง เมื่อนำทั้ง 3 สี (CMY) มาผสมกัน จะได้สีดำ

ระบบสี CMYK นี้ จะมี “ขอบเขตสี” ที่เล็กกว่า “ขอบเขตสี” ของระบบ RGB นั่นคือ ระบบสี CMYK นั้นจะสร้างสีต่างๆ จากแม่สีหลักทั้ง 4 สี ได้น้อยกว่าแบบ RGB แน่นอนว่าการที่เราทำงานโดยดูสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นระบบ RGB) และต้องพิมพ์งานออกมาใส่กระดาษโดยใช้ระบบ CMYK (ซึ่งมี “ขอบเขตสี” ที่เล็กกว่า)

ลองคิดดูว่า ถ้าไฟล์งานของเราใช้สีที่เป็นสีสะท้อนแสง ซึ่ง หน้าจอคอมพิวเตอร์ใช้ระบบ RGB จะสามารถสร้างสีพวกนี้ขึ้นมาได้ แต่เครื่อง Printer ใช้ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างสีเข้มขนาดนั้้นได้

Computer ก็จะพยายาม แปลงสีแป๊ดๆ หรือสะท้อนแสง จากระบบ RGB ให้เป็นสีที่เราต้องการ ในระบบ CMYK ที่ใกล้เคียงกับระบบ RGB มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยจะพยายามรักษาค่าสีให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดงานพิมพ์ที่ได้ออกมาจากเครื่อง Printer สีจะผิดเพี้ยนไปจากหน้าจอ เท่ากับในหน้าจอคอมพิวเตอร์)

วิธีลดปัญหาดังกล่าวทำได้ไม่ยาก นั่นก็คือ การสั่งจอคอมพิวเตอร์แสดงสีเฉพาะที่ระบบ CMYK สามารถทำได้นั่นเอง นั่นก็คือ เราต้องบอกให้โปรแกรมที่เราใช้ออกแบบงานสิ่งพิมพ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกมอย่าง Adobe Photoshop, Illustrator หรือ InDesign ทำงานในระบบ CMYK แทนที่ระบบ RGB

โปรแกรมเหล่านี้จะทำการตัดสีแป๊ดๆ ต่างๆ (หรือสีอื่นใด) ที่ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างได้ ออกไปจากสารบบของไฟล์งานของเรา เหลือเฉพาะสีที่ระบบ CMYK สามารถทำได้ให้เราเลือกใช้ในการออกแบบ

หลังจาก Save ไฟล์แล้วก็จะถูก Save ในระบบ CMYK และเมื่อเราสั่งพิมพ์งาน  Computer ก็ไม่จำเป็นต้องแปลงค่าสีจากระบบ RGB ให้เป็น CMYK ก่อนที่จะส่งไฟล์เข้าเครื่องพิมพ์อีกต่อไป ผลก็คือ สีของงานพิมพ์ที่เราได้ จะใกล้เคียงกับสีที่เราเห็นในหน้าจอคอมพิวเตอร์

และหากต้องการที่จะออกแบบงานพิมพ์ ที่จำเป็นต้องการควบคุมเรื่องคุณภาพของสี การทำไฟล์งานด้วยระบบ CMYK ถือเป็นคำตอบที่ดีและปลอดภัยที่สุด